เงินสิทธิประโยชน์อันพึงได้ของคนงานตามกฎหมายแรงงานซาอุดิอาระเบีย มี 4 ประเภท
1.1 ลูกจ้างรายวัน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
1.2 ลูกจ้างที่รับค่าจ้างรายเดือน นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้เดือนละ 1 ครั้ง
1.3 ลูกจ้างที่ทำงานเป็นรายชิ้น และต้องใช้เวลานานกว่า 2 สัปดาห์ จะต้องได้รับค่าจ้าง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง คิดคำนวณตามปริมาณงานที่ทำเสร็จ ส่วนค่าจ้างที่เหลือจะต้องจ่ายให้ครบสมบูรณ์ ในระหว่างสัปดาห์ต่อมาขณะส่งมอบงาน
1.4 ลูกจ้างที่ทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้น นายจ้างจะต้องจ่ายให้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
1.5 นายจ้างมีสิทธิหักเงินค่าจ้างจากคนงานได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่เกินค่าจ้างจำนวน 5 วันต่อเดือน ถ้าหากคนงานทำให้เกิดความสูญเสีย ความเสียหาย หรือทำให้เครื่องจักรพัง หรือทำให้ผลผลิตนายจ้างเสียหาย ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้นอยู่ในความรับผิดชอบของคนงาน และความเสียหายนั้นเกิดมาจากความผิดพลาดของคนงาน หรือเกิดจากการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง และไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของคนอื่น และไม่ได้เกิดจากแรงกดดัน บีบคั้นใดๆ
1.6 การเรียกร้องความเป็นธรรม หรือการร้องทุกข์จากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องมีขึ้นภายในระยะเวลา 15 วัน หากเกิน 15 วันถือว่าสละสิทธิ์ โดยกำหนดยื่นเรื่องสำหรับนายจ้างนับจากวันที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ส่วนคนงานนั้นนับจากวันทีได้รับแจ้งจากนายจ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
1.7 นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินใดๆจากคนงาน เกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนงานก่อนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
1.7.1 หักเงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ / หนี้สินระหว่างนายจ้างและคนงาน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง
1.7.2 หักเงินเป็นค่าปรับต่างๆที่คนงานต้องชำระ อันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนและค่าชดใช้ความเสียหายที่คนงานได้ก่อไว้
1.7.3 หักเงินเพื่อชำระหนี้สินตามคำพิพากษาของศาล โดยหักเป็นรายเดือนและหักได้ไม่เกินเดือนละ 1 ใน 4 ส่วนของค่าจ้างที่ได้รับ
1.7.4 หักเงินส่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกประกันสังคม และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกองทุนอื่นๆ ที่คนงานต้องจ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
1.8 ถ้านายจ้างหักเงินจำนวนใดไปจากคนงานโดยไม่มีเหตุมาจากที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างให้คนงานล่าช้าจากกำหนดเวลาที่คนงานควรจะได้รับ โดยไม่มีเหตุอันควร คนงาน หรือตัวแทนคนงาน มีสิทธิยื่นร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานได้เพื่อสั่งให้นายจ้างคืนเงินที่หักไปอย่างไม่เป็นธรรมนั้นแก่คนงาน หรือจ่ายเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่คนงาน
1.9 ถ้าหากเป็นที่ยืนยันจากคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานแล้วว่านายจ้างได้หักเงินค่าจ้างของคนงานไป หรือจ่ายเงินค่าจ้างแก่คนงานล่าช้า โดยไม่มีเหตุอันควร อนุญาตให้คณะกรรมการกำหนดค่าปรับเป็นเงินไม่เกิน 1 เท่าของเงินที่ถูกหักไป หรือ 1 เท่าของเงินค่าจ้างที่ค้างจ่าย
1.10 ถ้าคนงานถูกจำคุก หรือถูกกักตัวไว้ ณ หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องในคดีความที่เกี่ยวกับการทำงาน หรือด้วยสาเหตุมาจากการทำงาน นายจ้างยังคงต้องจ่ายเงินให้คนงานอย่างต่อเนื่องจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง จนกว่าคนงานจะถูกตัดสินในคดีดังกล่าว โดยระยะเวลาการถูกคุมขัง ต้องไม่เกิน 180 วัน (หรือ 6 เดือน) ถ้าหากเกินจากนั้น นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างส่วนใดแก่คนงานในจำนวนวันที่เกินไปนั้น และหากคำตัดสินออกมาปรากฏว่า คนงานบริสุทธิ์ หรือ คำพิพากษาออกมาให้ยุติการสอบสวนเนื่องจากสิ่งที่คนงานถูกกล่าวหา ไม่มีหลักฐานยืนยัน หรือไม่เป็นความจริง นายจ้างต้องจ่ายเงินคืนให้คนงานตามจำนวนเงิน ที่ถูกหักไปก่อนหน้านั้น ส่วนถ้าคำตัดสินออกมาว่า คนงานผิดจริง เงินที่นายจ้างจ่ายให้คนงานไปแล้ว จะไม่ถูกเรียกคืนแต่อย่างใด ตราบใดที่คำพิพากษาไม่ได้ระบุเอาไว้แตกต่างไปจากที่กล่าว
2.1 กฎหมายแรงงานบัญญัติให้คนงานทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชั่วโมง และในเดือนรอมาฎอน (เดือนสำหรับถือศีลอดสำหรับมุสลิม) ให้ลดเวลาการทำงานลงมาเหลือวันละ ไม่เกิน 6 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละไม่เกิน 36 ชั่วโมง (1 สัปดาห์ มี 6 วันทำงาน)
2.2 กฎหมายแรงงานบัญญัติอนุญาตให้นายจ้างเพิ่มเวลาการทำงานเป็นวันละ 9 ชั่วโมงได้สำหรับคนงานบางประเภท อุตสาหกรรมบางอย่าง และงานที่คนงานไม่ได้ทำงานนั้นอยู่ตลอดเวลาขณะเดียวกัน ก็อนุญาตให้ลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 7 ชั่วโมงได้ สำหรับคนงานบางประเภทอุตสาหกรรมบางอย่างและงานที่เสี่ยงต่ออันตราย โดยประเภทของคนงาน และประเภทของอุตสาหกรรมที่กล่าวถึงนี้ต้องถูกกําหนดออกมาโดยคำสั่งรัฐมนตรีแรงงาน
2.3 นอกจากนี้งานในสถานประกอบการที่การทำงานปกติจะเป็นลักษณะการเข้าเวร หรืองานเป็นกะ อนุญาตให้นายจ้างเพิ่มเวลาการทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงได้หรือน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือน้อยกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้การเข้าเวรหรือการทำงานเป็นกะนั้นถ้าคำนวณโดยเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน 3 สัปดาห์
2.4 คนงานจะได้รับค่าจ้างจากการทำงานล่วงเวลาชั่วโมงละ 150 เปอร์เซ็นต์ (1.50 เท่า) จากฐานเงินค่าจ้างของคนงาน และให้ถือว่าการทำงานในวันหยุดต่างๆเป็นการทำงานนอกเวลา
2.5 ไม่อนุญาตให้เวลาการทำงานจริงเกินวันละ 10 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ไม่ว่ากรณีใด
2.6 วันศุกร์คือวันหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์สำหรับคนงานทั้งหมด และคนงานจะต้องได้รับค่าจ้างเต็มตามปกติ
2.7 คนงานที่ป่วย และมีหลักฐานยืนยันการป่วย (ใบรับรองแพทย์) มีสิทธิ์ได้รับวันหยุดจากการป่วย (มีสิทธิ์ลาป่วย) โดยได้รับค่าจ้างเต็มตามปกติใน 30 วันแรก แล้วได้รับค่าจ้าง 3 ใน 4 ส่วน จากการลาหยุดอีก 60 วันต่อมา และจะไม่ได้รับค่าจ้างใน 30 วันถัดจากนั้นในช่วงเวลาเพียง 1 ปีนับจากวันที่เริ่มป่วยจะต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม
3.8 คนงานมีสิทธิ์ลาหยุดเพื่อประกอบพิธีฮัจย์ โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 15 วัน เป็นเวลา 1 ครั้งในการทำงานกับนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไขว่า คนงานต้องทำงานกับนายจ้างมาเป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี โดยนายจ้างจะเป็นผู้กำหนดจำนวนลูกจ้างที่จะได้รับสิทธิการหยุดเพื่อประกอบพิธีฮัจย์ ตามความจำเป็นของงาน
3.1 คนงานมีสิทธิได้ลาพักผ่อนประจำปี/ลาพักร้อน โดยได้รับค่าจ้างเต็มตามระเบียบดังนี้ ทำงาน 1 ปีเต็ม มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี/ลาพักร้อน 21 วัน
3.2 คนงานทำงานกับนายจ้างอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ลาพักร้อน 30 วัน
3.3 คนงานสามารถขอชะลอการขอลาหยุดพักผ่อนประจำปี/พักร้อน ออกไปอยู่ในปีถัดไปได้ โดยการเห็นชอบของนายจ้าง
3.4 ในช่วงที่คนงานหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่อนุญาตให้คนงานไปทำงานกับนายจ้างรายอื่นเมื่อใดที่พบและมีหลักฐานยืนยันว่า คนงานของตัวเองฝ่าฝืนในเรื่องนี้ (หลบไปทำงานกับนายจ้างอื่นนายจ้างมีสิทธิที่จะระงับการจ่ายค่าจ้างให้คนงานในช่วงที่เขาหยุด หรือเรียกคืน เงินที่นายจ้างจ่ายให้ไปแล้ว)
4.1 เมื่ออายุเวลาสัญญาการจ้างงานสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้หรือมีการยกเลิกสัญญาจ้างเกิดขึ้นมาจากฝ่ายนายจ้าง / เจ้าของสถานประกอบการ ในสัญญาที่ไม่ได้ระบุอายุเวลาสัญญาจ้างงาน นายจ้าง / เจ้าของสถานประกอบการ ต้องจ่ายเงินสิ้นบริการ (เงินรางวัลสิ้นสุดการทำงาน) แก่คนงานคำนวณตามจำนวนอายุเวลาการทำงาน โดยคิดคำนวณจากฐานอัตราเงินเดือนๆ สุดท้าย ดังนี้
ใน 5 ปีแรกจ่ายปีละ 15 วัน (½ เดือน) (5ปี = เงินเดือน 2 ½ เดือน)
ปีที่ 6 เป็นต้นไปจ่ายปีละ 1 เดือน
สำหรับเศษของปีและเดือนที่คนงานทำงานไปนั้น คนงานมีสิทธิได้รับโดยให้คิดหารเฉลี่ยออกมา นอกจากนี้ คนงานที่มีสิทธิได้รับเงินสิ้นบริการครบเต็มสมบูรณ์ยังครอบคลุมในอีก 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
4.2 กรณีคนงานลาออกสำหรับสัญญาจ้างที่ไม่มีการระบุอายุเวลาการจ้าง พิจารณาดังนี้
ท่านสามารถใช้บริการคำนวณเงินรางวัลสิ้นสุดการให้บริการโดยง่ายได้ที่นี่
เมื่อสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้รับทราบว่ามีคนงานไทยเสียชีวิตจะดำเนินการติดต่อกับทางบริษัท/นายจ้าง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนงานที่ตายเพื่อแจ้งให้ทายาทได้รับทราบ และขอให้ทางบริษัทรีบดำเนินการเคลียร์เงินสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งดำเนินการ ในด้านเอกสารให้พร้อม เช่น เอกสารยืนยันการเสียชีวิต หรือใบมรณะบัตรจากรมการพลเรือน กระทรวงมหาดไทยซาอุดีฯ หนังสือรับรองจากทางโรงพยาบาล (รายงานแพทย์เกี่ยวกับการเสียชีวิต) หนังสืออนุมัติจากสถานีตำรวจท้องที่ สำเนาเช็ดสั่งจ่ายในนามสถานเอกอัครราชทูตไทย (เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนงาน) ซึ่งนายจ้างต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนการส่งศพ และแจ้งให้ทางบริษัทรีบมาติดต่อกับสถานทูตไทย เพื่อขอหนังสืออนุมัติการส่งศพ โดยสำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีฯ จะประสานงานด้านข้อมูลต่างๆ กับทาง (ฝ่ายคุ้มครอง) สถานเอกอัครราชทูต ทั้งนี้เรื่องการส่งศพคนไทยเป็นความรับผิดชอบโดยตรง ของทางสถานทูต โดยเฉพาะการออกหนังสืออนุมัติการส่งศพ และการออกใบมรณะบัตร (ฉบับภาษาไทย)
นอกจากนั้น สนร.จะประสานงานแจ้งข่าวการส่งศพให้ทายาทผู้ตายได้ทราบเพื่อมารอรับศพที่สนามบิน ตามกำหนดเวลาที่แน่นอน จากที่ผ่านมาถ้ามีคนงานเสียชีวิตตามธรรมชาติ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วยตาย หรือหัวใจวายโดยเฉียบพลัน การดำเนินเรื่องต่างๆ ของทางบริษัทในการส่งศพมักไม่มีปัญหา แต่ถ้ากรณีการเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกฆาตกรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเข้าไปดำเนินคดีโดยมีการสอบสวน และชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการตายเสียก่อน ซึ่งการจะส่งศพได้ต้องใช้เวลานานเพราะต้องรอการอนุมัติจากสถานีตำรวจ และทางสำนักงานผู้ว่าฯ
ในการติดต่อขอรับศพนั้น ทายาทผู้ตายต้องติดต่อบริษัทที่ผู้ตายทำงานอยู่ โดยผ่านทางสถานเอกอัครราชทูต หรือ สำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดีฯ เพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบถึงที่อยู่ในเมืองไทยที่แน่นอน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวก และผู้ใดจะเป็นผู้มารับศพที่สนามบิน เมื่อศพเดินทางถึงประเทศไทย และเมื่อทางบริษัทได้รับแจ้งรายละเอียดจากทายาทแล้วก็จะติดต่อกับบริษัทคาโก้เพื่อส่งศพ จากนั้นก็จะแจ้งกำหนดการที่แน่นอนและเที่ยวบินให้หน่วยราชการไทยทราบ เพื่อแจ้งให้ทายาททราบต่อไป
สำหรับเรื่องเงินสิทธิประโยชน์ของผู้ตายนั้น ทางบริษัทจะดำเนินการเคลียร์ และ ออกเช็คสั่งจ่าย ในนามสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด แล้วนำส่งผ่านหน่วยงานราชการของซาอุดีอาระเบีย ตามลำดับดังต่อไปนี้
ขั้นตอนในการส่งศพและเคลียร์เงินสิทธิประโยชน์ของผู้ตายนี้ จะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน เนื่องจากต้องส่งอย่างเป็นทางการ ผ่านหน่วยงานราชการทั้งของซาอุดีฯ และของไทย
นอกจากเงินสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงานที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ยังมีเงินอีกประเภทหนึ่งที่คนงานที่เคยทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2530 ซึ่งตรงกับปี ค.ศ. 1987 อาจจะมีสิทธิได้รับนั่นคือเงินประกันสังคม หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “เงินโกซี่ – GOSI” ซึ่งย่อมาจากคำว่า General Organization for Social Insurance – GOSI แปลว่า องค์กรประกันสังคม ซึ่งมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ทั่วทุกจังหวัดในประเทศซาอุดีอาระเบีย
การประกันสังคมในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น เดิมได้มีการใช้บังคับทั้งประชาชนชาวซาอุดิอาระเบีย และคนงานต่างชาติ โดยให้นายจ้างนำคนงานสมัครเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม โดยมีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายค่าประกันสังคม หรือเบี้ยประกันเป็นเงิน 13% หักเก็บจากเจ้าของสถานประกอบการจำนวน 8% และหักเก็บจากคนงานจำนวน 5% เพื่อใช้เป็นกองทุนเลี้ยงชีพในยามที่คนงานนั้นหมดสภาพจากการทำงานแล้วด้วยสาเหตุ ใดก็ตาม เช่น อายุครบ 60 ปีแล้ว หรือออกจากสถานประกอบการนั้นด้วยสาเหตุสุขภาพไม่อำนวย หรือ เสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งเป็นเงินประเภทนี้เรียกว่า “เงินบำนาญ” หรือ “เงินกองทุนยังชีพ”
ต่อมาทางการซาอุดีอาระเบีย ได้มีคำสั่ง ที่ M/43 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2530 (ค.ศ. 1987) ยกเลิกระเบียบ การหักเก็บเงินประกันสังคมประเภท “เงินบำนาญ หรือ เงินกองทุนยังชีพ” ดังกล่าวจำนวน 5% จากคนงานต่างชาติ และให้คืนเงินจำนวน 5% ที่ถูกหักเก็บไปแล้วนั้นแก่คนงานต่างชาติ (ดูการขอรับเงินประกันสังคมคืน) ดังนั้น คนงานต่างชาติ จึงไม่ถูกหักเก็บเงินจากค่าจ้างการทำงานเข้าร่วมสมทบกองทุนประกันสังคมในประเภทเงินบำนาญ หรือเงินกองทุนยังชีพ อีกต่อไป
สำหรับการประกันสังคมในประเภท “ประกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจเกิดจากตำแหน่งงาน – อาชีพที่ทำงาน” โดยนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินประกันให้แก่สำนักงานประกันสังคม (โกซี่) จำนวน 2 % แทนคนงาน ซึ่งเงินประเภทดังกล่าวจะไม่มีการขอเรียกคืนในภายหลังเมื่อคนงานเลิกจากการทำงานแล้ว หรือเกษียณอายุการทำงานแล้ว (อายุครบ 60 ปี) แต่คนงานจะได้รับเมื่อประสบอุบัติเหตุในขณะทำงานนั้น ซึ่งเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง เงื่อนไข และขนาดของการที่ได้รับบาดเจ็บว่าอยู่ในระดับใด ขนาดใด โดยเป็นไปตามที่แพทย์ลงความเห็น
โดยสรุปตามระเบียบการประกันสังคมใหม่กําหนดเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเงินบำนาญหรือกองทุนยังชีพซึ่งใช้เฉพาะชาวซาอุดีฯ เท่านั้น และประเภทการประกันอุบัติเหตุหรืออันตรายจากอาชีพ/ตำแหน่งที่ทำ สำหรับประเภทนี้ใช้บังคับทั้งชาวซาอุดีฯ และคนงานต่างชาติโดยนายจ้าง/เจ้าของกิจการต้องเป็นผู้จ่ายเงินประกันสังคมแทนคนงานจำนวน 2% จากอัตราค่าจ้าง (ไม่มีการหักจากเดือนคนงานและไม่อาจขอรับคืนภายหลัง)
หมายเหตุ ระเบียบประกันสังคมนี้ มีการยกเว้นกลุ่มบุคคล 8 ประเภท (ที่ไม่ครอบคลุม) ดังนี้
การขอรับเงินประกันสังคม (โกซี่) คืนได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบันอย่างไรก็ตามยังมีคนงานไทยที่เคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบียจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เคยยื่นขอรับเงินประกันสังคม (โกซี่) อ่านต่อที่นี่