เดิมซาอุดีอาระเบีย มีการเมืองการปกครองตามหลักกฎหมายอิสลาม (Sharia) กษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังสงครามอิรัก-คูเวต ในปี 2534 มีความเคลื่อนไหวของประชาชนบางส่วนเรียกร้องการมีส่วนร่วมในทางการเมือง จึงได้มีการประกาศใช้กฎหมายพื้นฐาน (basic law) ซึ่งเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญของประเทศ กำหนดให้มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งสภาที่ปรึกษา (Shoura Council) โดยในการดำเนินนโยบายที่สำคัญบางด้านจะทรงปรึกษาหารือฝ่ายศาสนา ทหาร สมาชิกราชวงศ์ ภาคธุรกิจและประชาชนด้วย
ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียกำลังดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหาร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการเลือกสมาชิกสภาเทศบาลตามเมืองต่างๆ จำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด การส่งเสริมการปรึกษาหารือระหว่างทุกภาคส่วนของสังคม (national dialogue) เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการเมืองการปกครองในอนาคต
รัฐบาลซาอุดีอาระเบียเน้นนโยบายในการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพภายใน ประเทศ ในขณะเดียวกันก็พยายามเสริมสร้างบทบาทความเป็นผู้นำในโลกมุสลิมและกลุ่ม อาหรับและให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าว อาหรับ (Gulf Corporation Council-GCC) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมั่นคงของกลุ่มอาหรับและกลุ่มประเทศ GCC นอกจากนั้น ปัจจุบันกษัตริย์อับดุลลาห์ยังเร่งดำเนินการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเสนอให้จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล (International Center for Combating Terrorism) และการเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือในประเทศในเอเชีย
ซาอุดีอาระเบีย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 เขต หรือ ภาค ได้แก่
(1) Riyadh Region
(2) Makkah Region
(3) Eastern Region
(4) Madinah Region
(5) Qassim Region
(6) Aseer Region
(7) Jizan Region
(8) Najran Region
(9) Tabuk Region
(10) Hail Region
(11) Baha Region
(12) Jouf Region
(13) Northern Border Region
กองกำลังทางทหารของซาอุดีอาระเบียประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ Air Defense Force, National Guard, Ministry of Interior Forces (กองกำลังพลเรือน)
2882