ประเด็นปัญหา |
แนวทางแก้ไข |
คนงานไทยที่เข้าไปทำงานในซาอุดีฯ โดยถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
– นายจ้างขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นชาวซาอุดีฯ ไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา บางรายไม่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และไม่ทำวีซ่าให้คนงานเดินทางกลับไปพักร้อน รวมทั้งไม่จ่ายเงินสิ้นบริการเมื่อทำงานครบกำหนด
– คนงานที่เข้าทำงานตามสัญญาและได้หลบหนีนายจ้างซึ่งกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายแรงงาน และกฎหมายคนเข้าเมือง หากถูกจับกุมจะถูกส่งตัวเข้ากองเนรเทศ และส่งกลับประเทศไทย หากมีความผิดอื่นก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายก่อน
– การกระทำผิดกฎหมายท้องถิ่นของคนงานไทย ได้แก่ การมั่วสุมระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่สามีภรรยา การดื่มและต้มสุราขาย การเล่นหวย เล่นการพนัน เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นคนงานที่อยู่นาน มีพรรคพวกและรู้ช่องทางในการกระทำผิด หากถูกจับกุมจะถูกดำเนินคดี ส่วนคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถือเป็นคดีร้ายแรง บางรายถูกตัดสินประหารชีวิต และบางรายติดคุกเป็นเวลายาวนาน
– คนงานขาดการติดต่อกับครอบครัวเป็นเวลานาน ในการติดตามคนงาน บางรายข้อมูลในคำร้องไม่เพียงพอ หรือไม่ชัดเจน บางรายย้ายที่อยู่หรือที่ทำงานใหม่ บางรายหลบหนีนายจ้าง
|
– สนร.ฯ จะประสานและเจรจากันาจ้างเพื่อไกล่เกลี่ยหากไม่ได้รับความร่วมมือจะติดต่อประสานงานกับกระทรวงแรงงานฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักเจ้าเมือง และศาล ตามลำดับ และปัญหาส่วนใหญ่จะได้รับการแก้ไขในขั้นตอนของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่มีบางกรณีจะต้องใช้ เวลานาน 6 – 8 เดือน
– สนร.ฯ ให้ความช่วยเหลือโดยส่งล่ามไปแปลคำให้การ บริจาคสิ่งของ และเข้าเยี่ยมเยียนในเรือนจำอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องทำหนังสือแจ้ง กต.ซาอุดีฯ เป็นผู้อนุญาต
– สนร.ฯ ได้ติดต่อประสานงานกับเครือข่ายคนงานที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยติดตามและหาข้อมูล นอกจากนี้ สกญ.ได้ช่วยตรวจสอบหนังสือเดินทางและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
คนงานไทยเดินทางเข้าซาอุดีฯ โดยวีซ่าอุมเราะห์หรือเป็นผู้แสวงบุญและหลบหนีทำงาน (ผิดกฏหมาย)
– คนไทยที่หลบหนีทำงาน หากถูกจับกุมจะถูกส่งกลับประเทศไทย
– กรณีคนไทยบางรายถูกนายหน้าชาวซาอุดีฯ หลอกลวงว่าสามารถทำใบถิ่นที่อยู่ (IQAMA)โดยเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถดำเนินการขอได้
– กรณีหญิงไทยปลอมเป็นมุสลิมและเดินทางเข้าประเทศโดยใช้วีซ่าอุมเราะห์ และเข้ามาขายบริการทางเพศ ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างร้ายแรงของประเทศนี้
|
– กรณีหลบหนีทำงาน จะถูกจับกุมเข้ากองเนรเทศ สนร.ฯ ร่วมกับสกญ.จะเข้าไปเยี่ยมเยียนและตรวจสอบข้อเท็จจริงสัปดาห์ละ 2 วัน หากไม่มีหนังสือเดินทางจะออกเอกสาร C.I. ให้เป็นใบแทนหนังสือเดินทาง
– การให้ความช่วยเหลือจะต้องทำอย่างไม่เป็นทางการ โดยจะไปพบและเจรจากับนายหน้า หรือบางรายจะเชิญมาพบที่สำนักงานฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือด้วยดีระดับหนึ่ง
– การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะต้องขอความร่วมมือและประสานงานกันหลายฝ่ายในประเทศไทย
ในส่วนของสกญ.และสนร.ได้มีการประชาสัมพันธ์และเตือนคนไทยให้ละเว้นการกระทำและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และขอให้คำนึงถึงชื่อเสียง
|
1249